จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

นาข้าวอินทรีย์

นาข้าวอินทรีย์
การทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์

บทความ (Article)



เกษตรอินทรีย์ : ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย
ผู้เขียน/ผู้วิเคราะห์ : นางวลัยเงิน มหาคุณ และน..พิมพ์หทัย วิจิตธนาวัน
                การทำเกษตรกรรมของไทยมักประสบปัญหาการขาดทุน ซึ่งหนึ่งในสาเหตุของปัญหานี้เกิดจากรายจ่ายในการจัดซื้อสารเคมีจำนวนมาก มาใช้เพื่อเร่งผลผลิต อย่างไรก็ตาม หากผลผลิตที่ได้มีราคาตกต่ำ การขาดทุนก็ยังคงมีอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้น ในปัจจุบันกระแสการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรโลกเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยและปราศจากสารเคมีต่าง ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้เกษตรกรหลายรายจึงคิดหาวิธีการทำเกษตรกรรม แนวใหม่ เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยการพยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งวิธีการทำเกษตรแนวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย
                สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Agriculture : IFOM) ให้คำนิยามของเกษตรอินทรีย์ว่าเป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่นปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ และในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาความต้านทานโรคของพืชและสัตว์เลี้ยงหลักการเกษตรอินทรีย์จึงเป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและวัฒนธรรมของท้องถิ่น เนื่องจากก่อให้เกิดผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ และช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีหลักการของการอยู่ร่วมกันและพึ่งพิงธรรมชาติทั้งบนดินและใต้ดิน ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเห็นคุณค่า และมีการอนุรักษ์ให้อยู่อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบเป็นองค์รวมและความสมดุลที่เกิดจากความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศทั้งระบบ

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผักเกษตรอินทรีย์กับผักประเภทต่าง
กระบวนการผลิต
ผักเกษตรอินทรีย์
ผักปลอดภัยจากสารพิษ
ผักอนามัย
ผักไร้สารพิษ
การใช้ปุ๋ยเคมี
ไม่ใช้
ใช้ได้
ใช้ได้
ไม่ใช้
การใช้สารเคมีกำจัดแมลง
ไม่ใช้
ใช้ได้
ใช้ได้
ไม่ใช้
การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช
ไม่ใช้
ใช้ได้
ใช้ได้
ไม่ใช้
การใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
ไม่ใช้
ใช้ได้
ใช้ได้
ไม่ใช้
การใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม(GMOs)
ไม่ใช้
ไม่ได้ระบุถึงการห้ามใช้
ไม่ได้ระบุถึงการห้ามใช้
ไม่ได้ระบุถึงการห้ามใช้
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการรับรองคุณภาพ
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ชมรมเกษตรธรรมชาติและชมรมกสิกรรม ไร้สารพิษ
ที่มา : www.greennetorganic.com

ภาครัฐและเอกชนไทยเริ่มตื่นตัวที่จะพัฒนาสินค้าเกษตรของไทย ให้มีคุณภาพและปราศจากสารพิษตกค้าง หลังจากที่กลุ่มประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรของไทยเริ่มตรวจสอบคุณภาพ สินค้าอย่างเข้มงวด เนื่องจากพบว่ามีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับภาคเกษตรอย่างมาก ทางภาครัฐจึงรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งแบ่งการผลิตได้เป็น 2 แบบ คือ
1. เกษตรอินทรีย์แบบพื้นบ้าน ผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก และมีการนำผลผลิตบางส่วนไปจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น แต่ผลผลิตนี้จะไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
2. เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เป็นการทำการเกษตรเพื่อจำหน่ายผ่านทางระบบตลาด และหากตรารับรองมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานจากต่างประเทศ จะทำให้ผลผลิตสามารถส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ด้วย เกษตรอินทรีย์ของไทยยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มแรก กลุ่มผู้ทำการเกษตรอินทรีย์ยังมีจำนวนจำกัด ผู้ประกอบการและ ผู้ผลิตที่สำคัญได้แก่ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ที่ทำงานร่วมกับสหกรณ์กรีนเนท จำกัด และมูลนิธิสายใยแผ่นดิน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 55.89 ของเกษตรกรที่ทำการผลิตเกษตรอินทรีย์ และมีพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.14 ของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั้งหมดภายในประเทศ เป็นที่สังเกตว่า บริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ที่เป็นหน่วยงานของภาคเอกชน ซึ่งดำเนินกิจการสินค้าเกษตรเคมีอยู่เดิม เริ่มเข้ามามีบทบาทในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศอุตสาหกรรมเป็นหลัก เนื่องจากความต้องการเพิ่มสูงขึ้น
ตารางที่ 2 จำนวนฟาร์ม พื้นที่ และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย ..2545
ผลผลิต
จำนวนฟาร์ม (แห่ง)
พื้นที่การผลิต (ไร่)
ปริมาณผลผลิต (ตัน)
ข้าวและพืชไร่
909
32,841.27
8,350.49
ผัก ผลไม้ สมุนไพร
259
20,167.30
63,182.92
อื่น
1
768.75
n.a.
รวม
1,169
53,777.32
71,533.41
ที่มา : มูลนิธิสายใยแผ่นดิน/สหกรณ์กรีนเนท จำกัด: 2546
การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยเป็นการผลิตแบบง่ายๆ ไม่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน ผลผลิตที่ได้ก็เป็นสินค้าพื้นฐาน เช่น ข้าว ผักและผลไม้ ส่วนการแปรรูปสินค้ายังมีน้อย เพราะวัตถุดิบมีปริมาณไม่มาก ปัจจุบันมีผลผลิตที่จำหน่ายออกสู่ตลาดประมาณไม่เกิน 6,000 ตันต่อปี สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้แก่ ข้าว กล้วยหอม หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว สับประรด ขิง และสมุนไพรอีกหลายชนิด ตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยยังเป็นตลาดของผู้ผลิตคือ การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีจำนวนน้อย ผู้ผลิตสามารถเป็นผู้กำหนดการตลาดได้ค่อนข้างมาก ราคาผลผลิตก็มีแนวโน้มสูงกว่าราคาสินค้าเกษตรทั่วไปประมาณร้อยละ 20-50 การที่ระดับราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไปนี้ ไม่ได้เป็นเพราะว่ามีปริมาณการผลิตต่ำกว่าความต้องการของตลาดเท่านั้น แต่เนื่องจากเกษตรอินทรีย์จะต้องมีหลักประกันในเรื่องราคาผลผลิตที่ยุติธรรม ต่อผู้ผลิต จึงทำให้ต้นทุนการผลิตเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างสูงกว่าการผลิตทั่วไป อย่างไรก็ดีมีการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคจะยอมรับราคาผลผลิตที่สูงไม่เกินร้อยละ15-20

เกษตรอินทรีย์ในตลาดโลก
ปัจจุบันสินค้าเกษตรอินทรีย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ทั้งนี้จากผลการสำรวจของศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า ความต้องการสินค้าในปี 2541 สูงถึง 13,000 ล้านดอลลาร์สรอ. และในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สรอ. อัตราการขยายตัวของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยเฉลี่ยในแต่ละปีสูงถึงร้อยละ 20

ตารางที่ 3 ตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ

ตลาด
มูลค่าการขายปลีกปี 2546
(
ล้านดอลลาร์สรอ.)
สัดส่วนของตลาดอาหาร(%)
อัตราการขยายตัว
ปี 2546-2548
(%)
สหภาพยุโรป
10,000-11,000
2.0-2.5
15-20
สหรัฐอเมริกา
11,000-13,000
1.5-2.0
10-20
แคนาดา
850-1,000
< 0.5
-
ญี่ปุ่น
350-450
< 0.5
-
รวม
23,000-25,000
-
-
ข้อมูล : Compiled by ITC (International Trade Centre), December 2002
ในปี 2546 มูลค่าการค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลกมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1-2 ของตลาดอาหารทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่าส่วนแบ่งตลาดจะเพิ่มเป็นร้อยละ 5-10 ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ประเทศที่มีการบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างสูงได้แก่ ประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะตลาดเยอรมนี มีมูลค่าถึง 2,800-3,100 ล้านดอลลาร์สรอ. ในขณะที่สวิตเซอร์แลนด์มีสัดส่วนของอาหารเกษตรอินทรีย์ใน ตลาดอาหารสูงสุด คือ ร้อยละ 3.2-3.7 ส่วนอาหารเกษตรอินทรีย์ที่นิยมบริโภคได้แก่ กาแฟ ข้าว ชา ผักและผลไม้
แม้ว่าขณะนี้รัฐบาลของประเทศต่าง จะมีนโยบายสนับสนุนการผลิตอาหารเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศ แต่กำลังการผลิตก็ยังไม่สามารถขยายตัวได้ทันกับความต้องการ เช่น ฝรั่งเศสที่เป็นประเทศผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก มีพื้นที่การผลิตอาหารเกษตรอินทรีย์เพียงร้อยละ 0.3 ของพื้นที่การเพาะปลูกทั้งหมด ส่วนปริมาณการบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ของสหราชอาณาจักรมีมูลค่าประมาณ 450 ล้านดอลลาร์สรอ. ต้องนำเข้าถึงร้อยละ 60-70 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมด ดังนั้นประเทศที่สามารถผลิตสินค้าเกษตรจึงหันมาผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า ถึงกว่า 100 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยประเทศในแอฟริกา 27 ประเทศ เอเชีย 18 ประเทศ อเมริกาใต้ 25 ประเทศนอกเหนือจากประเทศในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ทั้งนี้ประเทศที่กำลังพัฒนาจะเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าประเภทกาแฟ ข้าว ชา สมุนไพร ผัก และผลไม้ ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทปศุสัตว์และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนใหญ่
ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย
แม้ว่าตลาดเกษตรอินทรีย์จัดว่าเป็นตลาดใหม่สำหรับเกษตรกรไทย แต่ด้วยแนวโน้มของตลาดที่เติบโตขึ้นเป็นลำดับ จากการที่ผู้บริโภคต้องการสินค้ามากขึ้น เนื่องจากความใส่ใจในด้านสุขภาพ ขณะที่ผู้ผลิตมีจำนวนจำกัด การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ออกสู่ตลาดของเกษตรกรไทยจึงเป็นหนทางที่สดใสกว่าที่ไทย จะยังคงผลิตสินค้าเกษตรทั่วไปแข่งขันกับประเทศต่าง ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย หรือเวียดนาม ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยมาก การปรับเปลี่ยนมาผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ย่อมจะทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีความได้เปรียบทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และ ภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญ จึงย่อมมีโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพให้เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของ โลกได้ แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้เพียงใดนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เช่น การสร้างความเข้าใจและความรู้ให้แก่เกษตรกร การให้บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ เป็นต้น จึงนับได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ ในขณะเดียวกันจะช่วยเสริมให้โครงการ Food Safety ของรัฐบาลประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น และมีผลดีต่อเนื่องในด้านคุณภาพชีวิตของเกษตรกรจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งเกิดผลดีทางอ้อมต่อสังคมและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในที่สุด

ที่มา : http://www.scb.co.th/LIB/th/article/ktb/data/k8-27.html